วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ลึกล้ำดุจ "ผาชัน" UNSEEN อุบลราชธานี

ลึกล้ำดุจ "ผาชัน" UNSEEN อุบลราชธานี

ผาชันยังไงก็คงเป็น "Unseen" ของอุบลราชธานี ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้สามพันโบกเพียงแค่ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่านั้นเอง ลักษณะของผาชัน อุบลราชธานี นั้นเกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำโขงมาเป็นนานนับร้อยนับพันปี เกิดร่องลึกลงไป  ครั้นฤดูแล้งน้ำโขงจะลดระดับจึงมองเห็นเป็นหุบเหวลึกน่ากลัวน่าหวาดเสียว หากนั่งเรือล่องแม่น้ำจะสามารถมองเห็นผาชันนี้สูงใหญ่น่าเกรงขาม ประเพณีการตักปลาจะมีขึ้นในเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ บ้านสองคอนจะคึกคักเป็นพิเศษ เมื่อนักท่องเที่ยวพากันมาชมประเพณีการตักปลาหน้าปากบ้อง ได้เฝ้ามองดูการจับปลาที่แปลกกว่าที่อื่น โดยไม่ต้องใช้เหยื่อตกเบ็ดหรือทอดแห แต่จะใช้สวิงขนาดใหญ่ด้ามจะมีความยาวพอคอยตักปลาขึ้นมา
 
น่าตื่นตาตื่นใจไปกับลักษณะเด่นของแหล่ง : จุดที่น่าสนใจ ซึ่งมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก ประกอบไปด้วย 1.ผาเลข เป็นหน้าผาที่กองทัพฝรั่งเศสได้มีการมาเขียนตัวเลขแสดงระดับนํ้าเพื่อผลประโยชน์ในการเดินเรือสินค้าที่ขนส่งอุปกรณ์ต่างๆและอาวุธ ในสมัยประเทศลาวยังเป็นอาณานิคม 2.ผาหมาว้อ นั้นเป็นจุดที่ชาวบ้านมีตำนานเล่าขายกันว่าหากคนที่มาบ้านผาชัน เกิดพูดจาไม่ดี ไม่เคารพสถานที่หรือพูดจาหยาบคายขึ้นมาจะเกิดอาการเจ็บป่วย เป็นเหตุให้ต้องมาทำพิธีกรรมขอขมาที่ผาหมาว้อแห่งนี้จึงจะหายจากโรค ที่แห่งนี้จึงเป็นจุดประกอบพิธีกรรมของชาวบ้านแถวนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 3.น้ำตก ปากอ่องเสา เป็นนํ้าตกที่ตกมาจากผาชัน อุบลราชธานี สร้างความสวยงาม เป็นอย่างมากอีกทั้งฝืงตรงข้าม เป็นหน้าผาของฝืงประเทศลาว ก็มีนํ้าตกที่สวยงามให้เห็น ประกอบไปด้วย นํ้าตกห้วยคลอง, นํ้าตกท่ากะเสียด, นํ้าตกห้วยบอน ทั้งหมดแล้วทำให้ผาชัน อุบลราชธานี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก
 
ธรณีวิทยา : มีลักษณะเป็นหน้าผาหินทรายสีเทา สีเทาอมม่วง อยู่ในหมวดหินภูพาน ที่มีอายุประมาณ 110 ล้านปี ที่มีความสูงประมาณ 20-30 เมตรจากระดับนํ้า ด้านบนผาชัน อุบลราชธานี เป็นลานหินทราย เป็นจุดชมวิวที่ สวยงามอีกทั้งยังแสดงลักษณะการกัดเซาะของทางนํ้าของหินด้วย ส่วนตรงหน้าผาก็มีจุดเด่นทางธรณีที่สำคัญนั้นคือ แสดงแนวเฉียงระดับที่ชัดและสวยงามมากหลายจุด และแสดงแนวการวางตัวของของชั้นหินได้ชัดเจนมาก
 
การเดินทาง : จากสามพันโบก อ.โพธิ์ไทร มุ่งหน้าไปทางอ.โขงเจียม เพื่อกลับเข้าไปอุบลราชธานีระหว่างทางก็จะผ่านบ้านผาชัน
 
ติดตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆอีกที่นี่ http://travel.sanook.com
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หาดสลึง แหล่งท่องเที่ยว อุบลราชธานี

หาดสลึง แหล่งท่องเที่ยว อุบลราชธานี

 
หาดสลึง จังหวัดอุบลราชธานี แห่งนี้ตั้งอยู่ที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดโดยประมาณ 115 กิโลเมตร ตามถนนทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ - ตระการพืชผล - โพธิ์ไทร) และสำหรับที่มาของชื่อ “หาดสลึง” นั้นเชื่อได้ว่าในยุคสมัยที่เหรียญสลึง 1 เหรียญสามารถที่จะซื้อควายได้ 1 ตัว คนที่มาเล่นน้ำสงกรานต์ที่หาดแห่งนี้นั้นได้ตั้งคำท้าทายความสามารถโดยที่มีการเดิมพันว่า กลางเดือนเมษายนในเวลาเที่ยงวันถ้าหากใครสามารถเดินหรือวิ่งบนหาดไปได้ตลอดแนว (ระยะทาง 860 เมตร) โดยที่ไม่แวะพัก จะได้รับเงินเดิมพันจำนวน 1 สลึง ซึ่งนับตั้งแต่มีการเดิมพันนี้ขึ้นมาไม่เคยมีใครได้รางวัลนี้เลย ชาวบ้านจึงได้ขนานนามหาดแห่งนี้ว่า “หาดสลึง” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมานั่นเอง
หาดสลึงแห่งนี้นั้น ได้เป็นหาดทรายที่สวยงามในด้านริมฝั่งแม่น้ำโขง และในฤดูแล้งประมาณเดือนมกราคม-พฤษภาคม เมื่อน้ำภายในแม่น้ำโขงลดระดับลง หาดทรายสีขาวที่ซ่อนตัวอยู่นั้นก็จะปรากฏขึ้นมาให้เหล่านักท่องเที่ยวได้มาเชยชมและถ่ายรูปด้วยอย่างสนุกสนาน กิจกรรมที่ขอแนะนำนั้นก็คือ การลงไปเดินสัมผัสทรายนุ่มๆ พร้อมกับได้ชมทิวทัศนียภาพไปยังฝั่งประเทศลาว
ที่หาดสลึงแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่เหล่านักท่องเที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพวกที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้า หรือร้านขายของที่ระลึกต่างๆนาๆมากมาย เรือนำเที่ยวมีให้เป็นแบบเหมาลำ ตลอดจนมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่น หาดสลึงจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะจะใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวทางน้ำเป็นอย่างมากของจังหวัดอุบลราชธานี
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวตามริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สามารถจะล่องเรือไปได้นั้นมีอยู่มากหลายแหล่ง ไล่มาจากซ้ายไปขวา (หันหน้าออกแม่น้ำโขง) ก็ได้ดังนี้คือ ผาพะเนียง, ดอนกลาง, แก่งน้อย, แก่งคอนใหญ่, ดอนหมากเกลือ, ปากบ้อง, หาดสลึง, ดอนกลาง, หินกองข้าว(ใกล้กับฝั่งลาว), คันนกเอี้ยง, หินกองข้าว(ใกล้ฝั่งไทย), ถ้ำนางทอหูก, สามพันโบก, ศิลาแลง, หาดหงส์ และลานหินสี ทั้งนี้แต่ละเส้นทางจะมีค่าบริการล่องเรือที่ต่างกันไป สามารถสอบถามราคาและรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมได้ที่ท่าเรือหาดสลึง
 
ขอบคุณสำหรับผู้ติดตามข่าวสารและผลงานบทความเหล่านี้
ติดตามต่อได้อีกที่ http://travel.sanook.com/

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แหล่งผลิตงานหัตถศิลป์ผ้าทอมือ บ้านคำปุน อุบลราชธานี

แหล่งผลิตงานหัตถศิลป์ผ้าทอมือ บ้านคำปุน อุบลราชธานี

 
บ้านคำปุนแห่งนี้อยู่ภายในบริเวณอาคารแบบไทยอีสาน เป็นสถานที่ทั้งแหล่งผลิตและแหล่งเรียนรู้ถึงกระบวนการถักทอผ้าไหมไทยที่ได้สั่งสมมานานแรมปี เพื่อสืบสานภูมิปัญญาตั้งเดิมของท้องถิ่นโดยมีผู้ให้ความรู้แก่ช่างทอในยุคปัจจุบันคือ นางคำปุน ศรีใส ผู้ที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ ในปีพ.ศ.2537 และบุตรชาย คือ นายมีชัย แต้สุจริยา เป็นศิลปินดีเด่นของจังหวัดอุบลราชธานี ในปีพ.ศ.2544 ทั้งยังเป็นผู้คิดค้นและออกแบบผ้าลายกาบบัวที่เป้นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี ตลอดจนบ้านคำปุนยังเป็นที่อยู่ของครอบครัว “บ้านคำปุน” ด้วย
วิถีชีวิตภายในบ้านคำปุน

บ้านคำปุนนั้นเป็นแหล่งผลิตการทอผ้าไหมที่มีเทคนิคและเอกลักษณ์ที่เรียกได้ว่าเฉพาะตัวสุดๆ รวมทั้งงานถักหรืองานหัตถศิลป์ โดยนางคำปุน ศรีใส ได้ให้โอกาสชาวบ้านผู้ที่มีความสนใจในด้านการทอผ้า งานถัก มาฝึกฝนและทำงานที่บ้านคำปุนจนมีความรู้ความสามารถเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์การทอผ้าต่อไปยังอนาคตไว้ซึ่งความเป็นไทยอีสาน
สถานที่จัดกิจกรรมของบ้านคำปุน

- ภายในบ้านคำปุน เลขที่ 331 ถ.ศรีสะเกษ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 โทร0-4532-3452 (สถานที่อยู่เลยโรงพยาบาลวารินชำราบไปประมาณ 800 เมตร)

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ
ภายในบ้านคำปุน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ภายในบ้านคำปุนยังเป็นสถานที่ร่มรื่นภายในอาคารสถานที่จัดได้อย่างลงตัว มีอาคารที่มีสถาปัตยกรรมไทยผสมผสานกับรูปลักษณ์ของท้องถิ่นอีสาน ซึ่งได้นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมและกลมกลืนกับประโยชน์ที่ใช้สอยในปัจจุบัน ตลอดจนยังพิพิธภัณฑ์ผ้าไหมเก่าแก่รุ่นบุกเบิกของเมืองอุบลราชธานีและยังมีโบราณวัตถุอีกมากมายไว้คอยให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชื่นชม บ้านคำปุน ได้มีการจัดนิทรรศการภายในบ้านคำปุนซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆปี ในช่วงงานเทศกาลประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี โดยเก็บค่าเข้าชมนิทรรศการคนละ 100 บาท ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจพนำไปเป็นทุนแก่เด็กผู้ที่ขาดแคลนในจังหวัดอุบลราชธานี

ใครที่สนใจในการทอผ้าไหมเอกลักษณ์ อุบลราชธานี และสนใจอยากจะมาศึกษาเชิญเข้ามาได้ที่ บ้านคำปุน จังหวัดอุบลราชธานี ยินดีต้อนรับทุกผู้สนใจ รับรองจะได้ทั้งความรู้ความสุข และความรู้สึกเข้าถึงยุคสมัยเก่าแก่ในอดีตอันเป็นสเน่ห์ของ บ้านคำปุน อีกด้วย

ติดตามแหล่งต่างๆได้อกีมากที่ http://travel.sanook.com/

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ตำนานเลื่องชื่อ แก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี

ตำนานเลื่องชื่อ แก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี

 
แก่งสะพือ นับเป็นแก่งที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นแก่งที่อยู่ในแม่น้ำมูลที่ เขตเทศบาล ตำบลพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีที่ประมาณ 45 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ...
แก่งสะพือนั้นมาจากคำว่า "ซำพือ" (ภาษาส่วย หรือ กูย) ที่แปลว่า งูใหญ่ ตามลักษณะของแก่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ตำบลพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี แก่งสะพือเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดตามสภาพภูมิศาสตร์ซึ่งมีชื่อเสียงมานาน คู่ไปกับจังหวัดอุบลราชธานี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เคยเสด็จประพาสแก่งสะพือมาแล้ว ความงดงามของแก่งได้เป็นแรงจูงใจให้ผู้ประพันธ์เพลงจินตนาการตามธรรมชาติให้กับนักร้องผู้มีชื่อเสียงอย่าง ทูล ทองใจ ขับร้องออกมา ปัจจุบันแก่งสะพือได้รับผลกระทบมาจากเขื่อนปากมูลจึงทำให้น้ำท่วมแก่ง จึงได้เกิดข้อตกลงร่วมกันว่า เมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้นให้ทางเขื่อนปากมูลได้ปล่อยน้ำออกเพื่อลดระดับน้ำลงจนสามารถเยี่ยมชมเกาะแก่งได้ ชาวอุบลราชธานีจึงนิยมไปเที่ยวชมแก่งสะพือกันอย่างคึกคักในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี
ตำนานสะพือ

ตำนานของแก่งสะพือเล่ากันว่าเป็นเรื่องราวของเทวรูปที่สร้างจากแก่งหินขนาดใหญ่ที่อยู่ในหลืบถ้ำกลางแม่น้ำมูลบริเวณแก่งสะพือ เมื่อฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอดจนมองเห็นพระพือซ่อนอยู่ในถ้ำใต้แก่งหินและเชื่อกันว่าพระพือเป็นเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดที่บนสิ่งใดแล้วย่อมได้ตามที่ประสงค์ไว้ แต่หากผู้ใดบนแล้วไม่ทำตามคำขอแล้วจะมีอันเป็นไปต่างๆนาๆ หนุ่มๆสาวๆชาวอำเภอพิบูลมังสาหารได้ไปสาบานรักต่อหน้าพระพือ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อไปเล่นน้ำที่แก่งสะพือ แล้วจะเลยไปลงใต้น้ำสาบานรักกัน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2500 นายอำเภอพิบูลมังสาหารพร้อมด้วยพระสงฆ์ และประชาชนต่างร่วมใจกันอัญเชิญพระพือไปประดิษฐาน ณ วัดสระแก้ว ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่อยู่ใกล้แก่งสะพือ เป็นบริเวณที่เคยมีซากปรักหักพังของสิ่งปลูกสร้างในสมัยอาณาจักรเจนละ ซึ่งบางส่วนก็ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ ในสมัยต่อมา เช่น วัดสุปัฏนารามและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี มีเหลือเพียงน้อยนิดเนื่องจากได้ถูกทับถมไปภายในการก่อสร้างสมัยใหม่
 
ติดตามเรื่องเล่าตำนานของสถานที่ต่างๆได้อีกที่  http://travel.sanook.com/

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์ แห่ง วัดศรีอุบลรัตนาราม หรือวัดศรีทอง แห่ง อุบลราชธานี

ประวัติศาสตร์ แห่ง วัดศรีอุบลรัตนาราม หรือวัดศรีทอง แห่ง อุบลราชธานี

วัดศรีอุบลรัตนารามหรือวัดศรีทอง จ.อุบลราชธานี เป็นวัดสายธรรมยุตสร้างเมื่อปี พ.ศ.2398 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงปีนี้ก็มีอายุครบ 150 ปีบริบูรณ์
สถานที่ตั้งของวัดศรีอุบลรัตนารามเดิมทีเป็นสวนของพระอุปฮาชโทต้นตระกูล ณ อุบลราชธานี ซึ่งมีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาจึงยกที่ดินให้ราว 30 ไร่เศษเพื่อใช้สร้างวัดพร้อมอาราธนาพระเทวธัมมีจากวัดสุปัฏนารามมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด
ในสมัยการปกครองที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วัดศรีอุบลรัตนารามได้ใช้เป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและเป็นที่บรรพชาอุปสมบทพระมหาเถระหลายรูป อาทิเช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, พระอาจารย์เสาร์ กนตสีโล, , พระศาสนาดิลก, พระอาจารย์มั่น ภูริทตโต และนอกจากนี้วัดศรีอุบลรัตนารามแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัมพระพุทธรูปคู่บ้านเมืองที่มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุบลราชธานี

สำหรับพระแก้วบุษราคัมนั้นเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปกรรมสมัยเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุษราคัมมีขนาดหน้าตักกว้าง 3 นิ้ว สูง 5 นิ้วเป็นทรัพย์สมบัติของเจ้าปางคำราชวงศ์จากเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้าที่แตกหนีมาจากพวกฮ่อมาจากเมืองเชียงรุ้งและมาสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานจ.หนองบัวลำภู

การที่พระแก้วบุษราคัมนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับพระแก้วมรกต เนื่องจากสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งโยนกเชียงแสนนครเงินยางมีพระแก้วมรกตไว้ในพระนคร ที่ทำให้เจ้านายตามเมืองต่างๆแสวงหาแก้วมณีที่มีค่ามาสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากรไว้ในนคร เพื่อที่จะสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาที่ประกอบไปด้วยแก้ว 3 ประการ คือ พระธรรมรัตนะ พระพุทธรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ดังนั้นแล้วในดินแดนสิบสองปันนา ล้านนา ล้านช้าง ซึ่งมีลำธารที่อุดมด้วยรัตนชาติหลากสีนั้นจึงมีพระพุทธรูปสร้างด้วยแก้วมณีอาทิเช่น พระเสตังคมณีนครลำปาง, พระแก้วขาวนครเชียงใหม่ และพระแก้วสีเหลืองที่เรียกกันว่าพระแก้วบุษราคัม

ในเวลาต่อมาพระแก้วบุษราคัมได้ตกทอดมาถึงมือพระเจ้าตาผู้เป็นลูกเจ้าปางคำ และในปีพ.ศ.2314 นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานถูกเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ยกทัพเข้ามาตีพระเจ้าตาถึงอสัญกรรมในสนามรบ เจ้าพระวอและท้าวคำผงจึงอพยพหนีจากศึกมาสร้างบ้านที่บ้านดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมตามมาด้วย และขออยู่ในขันธสีมาเจ้ากรุงธนบุรีโดยสร้างวัดหลวงให้ใช้ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่5 มีการปฏิรูปการปกครองได้มีการส่งข้าหลวงมากำกับการดูแลงานตามหัวเมืองทำให้เจ้าราชบุตรหนูคำเจ้าเมืองสมัยนั้นเกรงกลัวว่าข้าหลวงจะแสวงหาของสำคัญของบ้านเมืองไปเป็นของตนเอง จึงนำพระแก้วบุษราคัมออกไปจากวัดหลวงไปซ่อนไว้ที่บ้านวังกางฮุง(ซึ่งปัจจุบันเป็นหมู่บ้านอยู่ใน อำเภอวารินชำราบ)

จนกระทั่งพระอุปฮาชโทได้สร้างวัดศรีอุบลรัตนารามมีญาท่านเทวธัมมี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ให้ความเคารพนับถือเป็นเจ้าอาวาสพระอุปฮาชโทจึงไปอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาถวายเป็นพระพุทธปฏิมาประดิษฐานประจำวัด พระแก้วบุษราคัมจึงได้ถูกอัญเชิญกลับไปในเข้าเมืองอีกครั้ง และในอดีตจะให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาเพียงแค่ปีละครั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาความปลอดภัยขององค์พระแก้วบุษราคัม

แต่นับจากนี้เป็นต้นไป เมื่อมีการจัดระบบรักษาความปลอดภัยขึ้นเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพจึงได้เปิดให้พุทธศาสนิกชนสามารถเข้าไปกราบนมัสการได้ทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-17.00 น.

ติดตามประวัติสาศสตร์อีกมากมายไปที http://travel.sanook.com/

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สามพันโบก ประติมากรรมธรรชาติ อุบลราชธานี

 สามพันโบก ประติมากรรมธรรชาติ อุบลราชธานี

 แก่งสามพันโบก จ.อุบลราชธานีนับว่าเป้นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่และเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยเพราะความสวยงามของวิวทิวทัศน์นั้นเอง แก่งสามพันโบกได้ปรากฎสู่สายตานักท่องเที่ยวเมื่อโฆษณาของ ท.ท.ท. ชุดพี่เบิร์ด เริ่มออกอากาศฉายภาพสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นทำมาเป้นฉากจบของโฆษณาชุดนี้จึงกลายเป็นคำถามที่ว่า นั่นคือที่ไหนกัน เมืองไทยมีที่แห่งนี้ด้วยหรอ นับแต่นั้นเป็นต้นมามาแก่งสามพันโบกจึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รู้จักกันไปทั่วประเทศและได้รับความนิยมสูงมากใน
ประเทศไทยจนเรียกได้ว่าของดีทีเด็ดแห่งอุบลราชธานีเลยก็ว่าได้  
แก่งสามพันโบก จ.อุบลราชธานี เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงเมื่ออยู่ในช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งอันเกิดจากแรงน้ำวนกัดเซาะ จนกลายเป็นแอ่งที่มีมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3,000 โบก คำว่าโบกหรือแอ่งก็หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ ลำน้ำโขง และคำว่า “โบก” นั้นเป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกันและจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้งที่น้ำเริ่มเหือดแห้งขอด แก่งหินดังกล่าวก็จะโผล่พ้นน้ำออกกลายเป็น ความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติสุดอลังการกลางลำน้ำโขงอย่างแท้จริงสุดๆด้วยความสวยงาม แปลกตา มหัศจรรย์จนชาวบ้านเรียกว่า แกรนด์แคนยอนน้ำโขงแห่งจังหวัดอุบลราชธานี
ทางเข้าของแกรนแคนยอนแม่น้ำโขงแห่งนี้มีหินสวยงามลักษณะคล้ายกับหัวสุนัข ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆนาๆว่าบ้างก็ว่าแต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจได้ประทับใจความงามของสามพันโบกแห่งนี้จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม แต่เมื่อมาแล้วพบว่าขุมทรัพย์เป็นทองคำ จึงให้สุนัขเฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองผู้นี้จะออกมา เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติก็เกิดความโลภอย่างมากจนกลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่นแทน แต่สุนัขผู้ภักดีก็ได้เฝ้ารอเจ้าเมืองอยู่ตรงนั้นจนได้ตายในที่สุด แต่บางตำนานก็ว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงได้เป็นผู้ขุดมันเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งขึ้นและได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางเข้าระหว่างการขุดจนกระทั่งสุนัขได้ตายลงกลายเป็นหินรูปสุนัขไหในที่สุด

แก่งสามพันโบกแห่งนี้รอท่านมาเที่ยวอยู่นะ แวะมาเที่ยวได้เลย รับรองว่าท่านต้องประทับใจ ติดอกติดใจกับความสวยงามจนต้องบอกต่อๆกัน เพราะทิวทัศน์มีให้ชมมากมาย พร้อมให้ท่านมาชมความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
 
ติดตามประวัติที่เที่ยวอีกมาที่ http://travel.sanook.com/

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ท่องเที่ยวไปยัง น้ำตกแสงจันทร์ จ.อุบลราชธานี

ท่องเที่ยวไปยัง น้ำตกแสงจันทร์ จ.อุบลราชธานี

น้ำตกแสงจันทร์ หรือ น้ำตกรู เป็นน้ำตกงดงามอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ที่อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2314 (โขงเจียม ศรีเมืองใหม่) แล้วให้เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2112 ตรงทางไป อ.เขมราฐ ระหว่างทางจะผ่านอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และน้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกแสงจันทร์จะอยู่ก่อนที่จะถึงน้ำตกทุ่งนาเมืองประมาณ 1 กม. น้ำตกแสงจันทร์ นั้นรถยนต์สามารถเข้าถึงได้บริเวณหน้าน้ำตก เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก ด้วยสายน้ำจากลำห้วยท่าล้ง ตกลงปล่องหินลงสู่เบื้องล่าง คล้ายกับแสงจันทร์ที่เต็มดวงได้สาดส่องลงมา พร้อมน้ำที่ตกกระทบกับเนินหินและกระทบกับแสงแดด สร้างความสวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ แวะมา จ.อุบลราชธานี มาที่นี่ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

ความสวยงามของธรรมชาติรอคุณยุที่ http://travel.sanook.com/